การวางแผนเกษียณนั้น ควรวางแผนและกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
ในการเกษียณอายุการทำงานควบคู่ไปกับการวางแผนอาชีพ
ในปัจจุบันของตัวเอง ที่สำคัญคือ ควรลงมือทำทันทีอย่ารีรอ
และอย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เพราะถ้าคุณมีเป้าหมายและแผนเกษียณการทำงาน
ที่ชัดเจนก็จะทำให้คุณเกษียณอายุไปแล้วยังมีอาชีพรองรับ สามารถเลี้ยงตัวเองได้
และไม่สร้างภาระให้กับครอบครัว เป้าหมายการเกษียณของแต่ละคน
อาจไม่เท่ากัน บางคนบอกว่าตั้งเป้าเกษียณอายุไว้ที่ 45 ปี 50 ปี 55 ปี
หรือ 60 ปี การเงินธนาคาร มีข้อมูลดี ๆที่แนะนำ 7 เคล็ดลับ
เตรียมตัวเกษียณที่คุณสามารถเริ่มได้ทันที
1. เก็บแล้วเก็บเลย
คุณไม่ควรใช้เงินจากกองทุนเพื่อการเกษียณก่อนกำหนด เพราะหากคุณ
นำเงินในกองทุนเพื่อการเกษียณออกมาใช้ก่อนถึงวัยเกษียณ
คุณไม่เพียงจะสูญเสียเงินต้นที่ ล ง ทุ น แต่คุณยังสูญเสียผลตอบแทน
ที่คุณควรจะได้ในอนาคต ซึ่งหมายถึงคุณภาพชีวิตในวัยเกษียณที่ลดลง
2.สร้างนิสัยการออม
หากคุณมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คุณควรใช้
โอกาสนี้ออมเงินเข้ากองทุนให้มากที่สุด เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
สร้างนิสัยการเก็บออม และสร้างรากฐานชีวิตในวัยเกษียณที่ดีให้กับตัวคุณเอง
3. ศึกษาแผน ล ง ทุ น ที่เหมาะกับตัวเอง
คุณควรศึกษาแผน ล ง ทุ น ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะการเลือก
แผนการ ล ง ทุ น ที่เหมาะกับตัวคุณ จะช่วยเปิดรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
เพื่อสร้างชีวิตในวัยเกษียณที่มีคุณภาพ และช่วยหลีกเลี่ยง
การแบกรับความเสี่ยงที่คุณไม่สามารถยอมรับและเข้าใจได้
แต่ควรระมัดระวังการเปิดรับความเสี่ยงที่น้อยเกินไป
เพราะอาจทำให้ยากต่อการไปถึงเป้าหมาย
4.เริ่มออมเงิน
คุณควรเริ่มออมเงินตั้งแต่ตอนนี้ เพราะนิสัยการออมจะตอบแทนคุณ
ในอนาคต อาจจะเริ่มจากเงินจำนวนไม่มากแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น
อย่างสม่ำเสมอ โดยให้ความสำคัญกับการออมเพื่อการเกษียณ
เป็นอันดับแรก พร้อมหมั่นทบทวนแผนและมีวินัยในการออม
เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย เพราะไม่มีคำว่าสายสำหรับการออม
5. หมั่นศึกษาหาความรู้เรื่องการ ล ง ทุ น
นอกจากการออมเงินแล้ว การนำเงินออมบางส่วนไปลงทุน
ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นคุณควรหมั่นศึกษาประเภท
ของสินทรัพย์การ ล ง ทุ น เพราะจะช่วยเปิดโอกาสการ ล ง ทุ น
และช่วยลดความเสี่ยงโดยรวมด้วยการกระจายการลงทุน
ไปในสินทรัพย์ที่หลากหลายมากขึ้น
6.รู้จักตัวเอง
การเกษียณ คือ การปล่อยวางจากชีวิตการทำงาน และเริ่มใช้ชีวิตใหม่
ด้วยเงินก้อนที่คุณเก็บออมไว้ มนุษย์เงินเดือนแต่ละคนจะมีแผน
การเกษียณแตกต่างกันออกไปตามมาตรฐาน
คุณภาพชีวิตที่ต้องการ ซึ่งจะสอดคล้องกับเงินออมที่สะสม
มาก่อนเกษียณ ดังนั้นการวางแผนเกษียณจึงมีบทบาทสำคัญ
เพื่อหาจุดสมดุลระหว่างเงินออมและคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ
7. สร้างกองทุนเพื่อการเกษียณเพิ่ม
นอกเหนือจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว คุณควรสร้างบัญชีลงทุน
เป็นกองทุนเพื่อการเกษียณเพิ่ม และแยกกองทุนเพื่อการเกษียณ
ออกจากเงิน ลงทุนส่วนอื่นๆ เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายหรือเหตุการณ์
ไม่คาดฝันทำให้แผนเกษียณของคุณต้องสะดุด