เทคนิคเก็บเงินให้ถึงเป้า..สิ้นปีมี “เงินแสน”
สำหรับคนเก็บเงินเก่งหรือวางแผนการเงินได้ดีมาตลอด เป้าหมายเหล่านี้คงไม่ใช่เรื่องย ากนัก แต่สำหรับคน
ใช้เงินมือเติบหรือคนเก็บเงินไม่อยู่มาก่อนเลย
อย ากตั้งเป้าหมายทางการเงินของตัวเองบ้าง วันนี้ยังไม่สายเรารวมเทคนิคการเก็บเงิน ที่มีโอกาสสำเร็จสูง
มาฝาก เพื่อเริ่มต้นเป็นคนมี สุ ข ภ า พ การเงินที่ดีไปพร้อมๆ กันในปีนี้
เทคนิคที่ 1 : เก็บก่อนใช้
เทคนิคที่เหมาะสำหรับคน ที่เก็บเงินไม่อยู่เอามากๆ คือการ “เก็บก่อนใช้” เพื่อให้เงินส่วนที่ต้องการเก็บไป
อยู่ในที่ที่เราไม่เห็น ไม่มีแรง ก ร ะ ตุ้ น ในการใช้
เงินที่ไม่เห็น = เงินที่ไม่ได้ใช้
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนใช้เงินเก่ง ไม่มีเงินเหลือเก็บตามเป้าหมาย และรู้สึกว่าหาเงินเท่าไรก็ไม่พอเ พ ร า ะ
หวังจะเก็บเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายแต่ความเป็นจริงสิ่งที่ควรทำคือตัดเงินที่ต้องการเก็บออกไปเป็นอันดับ
แรกหลังมีรายรับ ตามสมการ “รายได้-เงินออม = รายจ่าย”
การเก็บก่อนใช้ จะต้องมีกฎว่า “ ห้ามยุ่ง ” กับเงินก้อนนี้เป็นเชียวจนกว่าจะเกิดเหตุการณ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
เช่น ตั้งใจเก็บเงิน 100,000 บาท ในปลายปีนี้ ทุกครั้งที่มีรายได้จะตัดเงิน 20-30% ออกเพื่อเก็บทันทีก่อน
นำไปใช้จ่ายและจะไม่ยุ่งกับเงินก้อนนี้เลยจนกว่าจะถึงปลายปีและใช้ตามเป้าหมายที่คิดไว้ตอนแรกเท่านั้น
อย่ างไรก็ตาม สามารถปรับลดเป้าหมายต่ำลงตามรายได้และภาระที่มี แบบค่อยเป็นค่อยไปอาจจะเริ่มที่
ปีละ 10,000 30,000 หรือ 50,000 บาทก่อนเพื่อฝึกวินัยก็ทำได้ตามสะดวก
เทคนิคที่ 2 : เก็บเงินไว้ในที่ ที่เอาออกย าก
จากเทคนิคแรก หลายคน เคยทำแล้วแต่ตกม้าก่อน เ พ ร า ะรู้ว่าตัวเองมีเงินอยู่ในบัญชีและเอาออกมาใช้ตอน
ยังไม่ถึงเส้นชัยทุกครั้งฉะนั้น เมื่อตัดเงินมาเก็บก่อนใช้ได้แล้ว ลองหาที่พักเงินไว้แบบที่เอาออกไปใช้ได้ย าก
เพื่อลดความคล่องตัว โดยอาจทำได้หลายวิธี เช่น
– บัญชีออมทรัพย์ปิด ไปเลย ไม่มีบัตร ไม่มี e-banking ยังคงเป็นการเก็บเงินสุดคลาสสิกที่เป็นทางเลือก
สำหรับคนที่เริ่มต้นการออมที่ช่วยห้ามการถอนมาใช้ได้ ในระดับหนึ่ง และสามารถสะสมเงินง่ายๆ เพียง
โ อ น เข้าไว้ในบัญชีนั้นๆ ทุกเดือน
– บัญชีฝากประจำ บัญชีฝากประจำของแต่ละธนาคาร จะมีเงื่อนไขในการฝากเงินเป็นประจำสม่ำเสมอ
ที่ช่วยให้ไม่เผลอเอาเงินออกมาใช้ และมีผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 1-2% ขยับขึ้นมาจากการฝาก
ออมทรัพย์ธรรมดาเล็กน้อย อย่ างไรก็ดี ต้องดูรายละเอียด การฝากประจำ (บางประเภท) ที่จะมี
การเรียกเก็บภาษีและปลอดภาษีเพื่อบริหารให้เหมาะกับเป้าหมายของตัวเองด้วย
– ซื้อสลากออมทรัพย์ สลากออมทรัพย์คือการออมเงินประเภทหนึ่งที่มีการให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย
ตามที่ตกลงคล้ายกับการฝากประจำ (ขึ้นอยู่กับประเภทสลาก) ความพิเศษของการซื้อสลากออมทรัพย์
คือมีโอกาส “ลุ้น ห ว ย” หรือลุ้นถูกรางวัลตามเลขบนสลากที่เราซื้อ ทำให้มีโอกาสลุ้น เป็นเศรษฐี
ระหว่างที่ฝากเงินด้วย โดยการซื้อสลากจะช่วยให้เก็บเงินอยู่กว่าการออมแบบธรรมดา
เ พ ร า ะมีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน เช่น 1 ปี 3 ปี ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ตอนครบเวลาฝาก เราจะได้รับเงินก้อน
ที่เป็นเงินต้นที่ซื้อไว้คืนทั้งหมดรวมกับดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาที่ฝากด้วย
เทคนิคที่ 3 : หัดลงทุน
การ “ลงทุน” คือโอกาสที่ทำให้เงินที่มีอยู่งอกเงย ขึ้นมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประเภทต่างๆที่ต้องแลกมากับ
“ความ เ สี่ ย ง ” ตามมา ส่วนจะ เ สี่ ย ง มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ลงทุน
ซึ่งปัจจุบันมีการลงทุนที่หลากหลาย และเข้าถึงง่ายผ่านสมาร์ทโฟน โดยการลงทุนเบื้องต้นที่แนะนำสำหรับ
คนที่ไม่เคยลงทุนมาก่อน และต้องการเก็บเงินให้ค่อยๆ งอกเงย คือ “กองทุนรวม”กองทุนรวม คือการใส่เงิน
ลงทุน เข้าไปในกองทุนที่คนมีผู้เชี่ยวชาญ
หรือผู้จัดการกองทุน ช่วยบริหารจัดการให้ ตามนโยบายที่แจ้งไว้กับนักลงทุนซึ่งในแต่ละกองทุนก็จะไปลงทุน
ใ น สินทรัพย์ต่าง ๆ อีกทอดหนึ่งโดยส่วนใหญ่จะกระจายหลายสินทรัพย์ซึ่งจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทน
1-12% (ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ลงทุน และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ เวลาที่ลงทุน)
ซึ่งมีโอกาสปั้นเงินก้อนให้ถึงเป้าที่ตั้งไว้ แบบออกแรงน้อยลง เช่น อย ากมีเงิน 1 แสนบาท ใน 1 ปี หากออมเงิน
ในกระปุก จะต้องเก็บเงินเฉลี่ยเดือนละ 8,333 บาท จึงจะครบแสนแต่หากนำเงินไปลงทุนกองทุนรวม 1 ปี
จะใช้เงินต้นที่น้อยลง เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนจะเข้ามาเติมเต็ม เช่น ถ้าเราลงทุน
ในกองทุนเดือนละ 8,000 บาท แล้วได้รับผลตอบแทน เฉลี่ย 5% ต่อปีก็มีโอกาสจับเงิน
100,800* บาท เนื่องจากมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมา 4,800 บาทนั่นเอง