เชื่อว่าหลายๆ คน เปิดปีใหม่มา มีรายได้มากขึ้น ไม่เงินเดือนเพิ่ม ก็ได้เงินก้อนจากโบนัส หรืออีกสักพักก็อาจได้เงินคืนภาษี
ช่วงเวลานี้เราอาจยังยิ้มได้กับตัวเลขในบัญชีที่มากขึ้น…แต่พอผ่านไปสัก 1-2 เดือนหลายคนอาจกลับมาสู่วังวนเดิม “เงินไม่พอใช้”
คำถามคือ แล้วเงินที่ได้เพิ่มขึ้น…หายไปไหน พฤติก ร ร ม 8 สิ่งนี้ที่เราอาจทำโดยไม่รู้ตัว และทำให้ไม่รวยสักที
ดังนั้นถ้าอย ากรวยก็เลิกทำแบบนี้ซะ
1 : สนใจแต่ “ปัจจุบัน” ไม่สนใจ “อนาคต”
เมื่อเจอกับปัญหา หลายคนเลือกที่จะเดินหนี หันหลังให้ หรือบ่ายเบี่ยงไปทำอย่ างอื่นและปัญหาก็ยังคงกองอยู่ตรงหน้า
เหมือนเดิม แถมอาจหนักขึ้นจนเข้าขั้นวิกฤติได้ในอนาคต ในเรื่องของการเงินก็เช่นกัน หลายคนสนใจกับความสุขในวันนี้
กินอิ่ม ปาร์ตี้สนุก เที่ยวถี่ ใช้ให้เต็มที่ทั้งที่รู้ว่ายังไม่มีเงินเก็บสำหรับอนาคต ไม่มีเงินสดสำหรับย ามฉุกเฉิน ไม่เคยวางแผนการเงิน
ไม่เคยแม้แต่จะลงมือทำ…และปัญหาก็ยังคงเป็นปัญหาเช่นเคยคงดีกว่าไม่น้อยถ้าการตัดสินใจใช้เงินทุกครั้ง
เราได้ฉุกคิดถึง “อนาคต” บ้าง…บ้านผ่อนหมดยัง หนี้บั ต ร เ ค ร ดิ ตจ่ายเต็มวงเงินแล้วใช่มั้ย? เงินก้อนที่ตั้งใจเก็บตอนนี้ได้เท่าไหร่
เกษียณที่ว่าต้องใช้เงินเยอะเรามีแค่ไหนแล้ว? หัดอดเปรี้ยวไว้กินหวานบ้าง…
2 : คิดว่า “เร็วเกินไปที่จะออมเงิน”
ในวันที่เรายังตื่นตาตื่นใจกับสิ่งรอบตัว อันนู้นก็ใช่ อันนี้ก็อย ากได้ อันนี้ก็กำลังมองหา ภาพลวงของ“ความจำเป็น” ผุดขึ้นมาตรงหน้า
และทำให้เราเสียทรัพย์อยู่เสมอ ทั้งที่สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นแค่ “ความต้องการ” มีก็ดี ไม่มีก็ได้ เลิกผลัดวันประกันพรุ่ง
และเริ่มออมเงินวันนี้ และเดี๋ยวนี้ จะ 10 100 1,000 10,000 ก็ถือว่าเราได้เริ่มต้นแล้ว…หลังจากนั้นสร้างวินัยให้กับตนเอง
ด้วยการออมต่อเนื่องสม่ำเสมอ แม้จะไม่อย ากออมก็ตามเพราะวินัย คือ การทำสิ่งที่ “ต้องทำ” แม้จะ “ไม่อย ากทำ” ก็ตาม
3 : ไม่สนใจ “หนี้”
น้อยคนนักที่จะ “ไม่มีหนี้” แต่คนมีหนี้จำนวนมากกลับให้ความสำคัญกับการ “ชำระหนี้” น้อยมาก หรือบางคนไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการหนี้เลย
และนั่นก็ย่อมทำให้เขาเหล่านั้นตกอยู่ในวังวนของ “หนี้” อย่ างไม่มีทางหลุดพ้นได้ เพราะเมื่อได้เงินมา ก็มัวแต่สนุกกับการใช้จ่าย กระทั่งดอกเบี้ย(หนี้)
ทบต้นไปเรื่อยๆในทางตรงกันข้าม…คนที่อย ากรวยจะ “กลัวหนี้” มากกกก และนั่นทำให้เขาเหล่านั้นให้ความสำคัญกับ“หนี้”
เป็นอย่ างแรก เมื่อมีรายได้เข้ามาก็จะรีบชำระหนี้ก่อนสิ่งอื่นใด กระทั่งเป็นไท ปลดระวางหนี้ได้สำเร็จ
4 : ไม่เคยตั้ง “งบประมาณ” ในการใช้เงิน
บริษัทก็ยังมีงบการเงิน ทำโปรเจคยังต้องมีประมาณการณ์ค่าใช้จ่าย เรื่องการเงินส่วนบุคคลก็เช่นกันหลายคนไม่เคยตั้ง “งบประมาณ”
การใช้เงินเลย จะช้อปปิ้งปีใหม่ จะเที่ยว จะซื้อเสื้อผ้า ก็จัดเต็ม และสุดท้ายก็เกินความจำเป็น เกินกำลังทรัพย์ของตัวเอง
และกลายเป็น “หนี้” ในท้ายที่สุดวิธีการที่ง่ายกว่าก็คือ “ตั้งงบประมาณ” การใช้เงินทุกครั้ง เช่น จะซื้อของวาเลนไทน์ให้คนรัก
ไม่เกินกี่บาท, จะไปเที่ยวทริปกลางปีงบประมาณรวมเท่าไหร่ หลังจากนั้น…ยึดมั่นกับสิ่งที่ตั้งไว้
ทำตามแผนไม่ใช้เกินงบ รับรองว่าเราจะตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปได้อย่ างง่ายได้
5 : แยกไม่ออกว่า “จำเป็น” หรือ “ต้องการ”
วิธีการแยกง่ายที่สุดก็คือต้องรู้ว่าสิ่งไหน…ต้องมี (จำเป็น) ขา ดไปแล้วจะใช้ชีวิตไม่ได้ เช่น ปัจจัย 4สิ่งไหน…มีก็ดี ไม่มีก็ได้ (ต้องการ)
ขา ดไปแล้วยังใช้ชีวิตได้ แต่ถ้ามีแล้วชีวิตจะดีขึ้น เช่น อาหารจานหรู เสื้อผ้าแ บ ร น ด์ เ น มหรือสิ่งไหน…ไม่จำเป็นต้องมีแต่ถ้าแยกไม่ได้
และเอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง…อาจเป็นเหยื่อภาพลวงของ “ความจำเป็น”แน่นอน และก็ทำให้เรามีแต่จ่ายกับจ่าย ไม่มีที่สิ้นสุด
6 : ใช้เงินเพิ่มขึ้น
ไม่ผิดหรอกถ้าคิดว่า “อย ากมีชีวิตที่ดีขึ้น” แต่อย่ าลืมว่าชีวิตที่ดีขึ้นไม่จำเป็นต้องมากับรายจ่ายที่มากขึ้นเพียงอย่ างเดียว
ลองใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น เลิกเป็นนักสะสม สนุกกับการ M i x & M a t c h แค่นี้ก็ทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้
เพราะถ้าได้เงินเดือนเพิ่ม แล้วใช้จ่ายเพิ่ม (มากกว่าเงินเดือนที่เพิ่ม) สุดท้ายอาจได้แค่ “อย าก” มีชีวิตที่ดีขึ้น
เพราะพฤติก ร ร มมือเติบอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะหนี้สินที่พอกพูนโดยไม่ทันตั้งตัว
7 : เป็นสาวกเทคโนโลยี
ถ้าใครเป็นแฟนพันธุ์แท้เทคโนโลยีแล้วล่ะก็ จะรู้เลยว่าไม่มีวันหยุดสำหรับแก็ดเจ็ตต่างๆยิ่งเราวิ่งตามเท่าไหร่ เงินก็จะยิ่งไหลออกจากกระเป๋ามากขึ้นเท่านั้น
และนั่นก็ทำให้รายได้ที่มากขึ้น “ไม่เคยพอ” ต่อการตามเทรนด์เหล่านี้ไม่ผิดถ้าจะซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ ไม่แปลกถ้าจะมีแก็ดเจ็ตคู่กายไม่ใช่เรื่องเกินจำเป็น
หากจะมีอุปกรณ์พกพามากกว่า 1 ชิ้นเพียงแต่เราต้องใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราซื้อให้เต็มที่ และคุ้มค่า คุ้มราคาจริงๆ
8 : ไม่เคยจดเรื่อง “เงิน” ของตัวเอง
เข้าห้องประชุมก็จด นายสั่งงานก็จด ไปฟังสัมนาก็จด จดทุกเรื่องที่ทำเพื่อคนอื่น…แต่หลายคนไม่เคยแม้แต่จะจดเรื่อง“เงิน”
ของตัวเองทั้งที่เป็นเรื่องที่ดีกับตัวเองแท้ๆ เพียงเพราะคิดว่าเรารู้อยู่แล้วว่า รับ จ่าย ออม เท่าไหร่ จริงอยู่ที่เราอาจรู้ความเคลื่อนไหว
เงินที่เข้า-ออกในกระเป๋า แต่นั่นอาจเป็นแค่ก้อนใหญ่ๆ เท่านั้น(เงินเดือน-หนี้บั ต ร เ ค ร ดิ ต (รวม)-หนี้บ้านต่อเดือน ฯลฯ)
แต่รายจ่ายจิปาถะ กาแฟ ขนม เสื้อผ้า อุปกรณ์แก็ดเจ็ตหรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายปลีกย่อย
ก่อนจะรวมเป็นหนี้บั ต ร เ ค ร ดิ ตก้อนใหญ่ หลายคนไม่เคยแม้แต่จะสนใจ และนั่นก็เป็น “รูรั่ว” เล็กๆ
แต่สร้างผลกระทบยิ่งใหญ่ต่อสถานะการเงินโดยที่เราไม่รู้ตัว