หลายคนตั้งใจเก็บเงิน แต่เก็บเท่าไหร่ก็ได้ไม่เยอะอย่างที่ตั้งใจสักที หรือเรากำลังเก็บเงินแบบผิด ๆ อยู่นะ?
เรามีเทคนิคการ ตั้งเป้าหมายในการเก็บเงิน ที่สามารถทำได้จริง เห็นผลจริงได้ และไม่สำบากตัวเองจนเกินไป
สามารถมีเงินไปช็อปปิ้ง กิน เที่ยว ให้รางวัลตัวเองได้ด้วยค่ะ
1 :: ตั้งเป้าหมายในการออมเงินที่ชัดเจน ::
บางคนคิดเอาไว้แค่ว่า อยากมีเงินเก็บ อยากออมเงินให้ได้เยอะๆ เพียงแค่คร่าวๆ แต่ไม่ได้ระบุลงรายละเอียดไปว่าต้องการเก็บเงิน
ให้ได้จำนวนเท่าไหร่ ภายในระยะเวลาเท่าไหร่ หากเรามีเป้าหมายในการออมเงินอยู่แล้ว เช่น ต้องการเก็บเงินเพื่อนำไป ซื้อบ้าน
ซื้อรถ ท่องเที่ยว หรือเป็นเงินสำรองสำหรับวัยเกษียณ เราควรระบุลงรายละเอียดไปให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อที่เราจะได้
มองเห็นจุดหมายปลายทางในการเก็บเงินของเรา และมีกำลังใจมากขึ้น เวลาที่เห็นตัวเลขเงินเก็บเพิ่มมากขึ้น
2 :: นำเงินออมมาลงทุน ::
การเก็บเงินคือสิ่งที่ดี แต่จะดียิ่งกว่า ถ้าเรานำเงินเก็ยนั้น มาทำให้เกิดผลกำไรงอกเงย ด้วยการนำไปลงทุนต่อ โดยการลงทุนนั้น
ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงที่ต้องยอมรับ ดังนั้น เราจึงควรศึกษารายละเอียดในการลงทุนให้ดีก่อน
รวมถึงทำแบบประเมินความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อที่เราจะได้สามารถเลือกวิธีการลงทุนที่เหมาะกับเราที่สุดได้
3 :: แบ่งสัดส่วนเงิน ::
จดบันทึกรายรับรายจ่ายของเรา เพื่อให้รู้ว่าเรามีรายได้และรายจ่ายอะไร มากน้อยแค่ไหนบ้าง แล้วนำผลจากการจดบันทึกนี้
มาวิเคราะห์ว่า เราควรเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ มีเงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอีกเท่าไหร่ และควรแบ่งเงินเป็นสัดส่วนเท่าไหร่
สำหรับการให้รางวัลตัวเองด้วยการกินอาหารที่อยากกิน ไปเที่ยวในที่ที่อยากไปเที่ยว หรือช็อปปิ้งข้าวของที่ดีต่อใจ
4 :: เปลี่ยนทัศนคติเรื่องการเก็บเงินเสียใหม่ ::
การเก็บเงินต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งที่จะทำเป็นอย่างสุดท้ายเมื่อเงินเหลือ หลายคนมีทัศนคติเกี่ยวกับการเก็บเงิน
ออมเงินที่ผิดๆ โดยการใช้เงินที่หามาได้ก่อน เมื่อเงินเหลือค่อยนำมาเก้บออม ถ้าไม่เหลือก็ไม่ต้องเก็บเลยสักบาทซึ่งความคิด
และพฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้เรากลายเป้นคนไม่มีวินัยทางการเงิน ที่หาเงินได้เท่าไหร่ก็ไม่ค่อยเหลือเก็บสักเท่าไหร่
เป้าหมายในการออมเงินที่ตั้งไว้ ก็ทำไม่สำเร็จสักที จนบางครั้งก็สชรู้สึกท้อแท้ และตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมเราจึงไม่มีเงินเก็บ
อย่างใครเขาสักที วิธีที่ถูกต้องที่สุด คือการ “เก็บก่อนใช้” แบ่งเงินเก็บออกมา จากรายได้ของเราทันที ที่ได้รับเงิน
เพื่อป้องกันไม่ให้เราเผลอใช้เงินนั้นจนหมด และทำให้เรามองเห้นจำนวนตัวเลขของเงินที่เราสามารถใช้ได้จริง
ไม่ใช่ใช้เงินทั้งหมด โดยที่ไม่แบ่งมาเป้นเงินเก็บหรือเงินออมเลย