5 นิสัยที่จะดึงให้เราต่ำลง “พาเราเข้าสู่โหมดเศร้าซึม” โดยที่เราไม่รู้ตัว

บางช่วงเวลาที่เราเขยิบเข้าใกล้ความเศร้าซึม หากปล่อยไว้นานอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

บางคนผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นไปแล้ว บางคนกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้ ขออนุญาตส่งกำลังใจและฝากสำรวจตัวเอง

เพื่อผ่อนปรน และใจดีกับตัวเอง ในช่วงเวลาที่เราอาจกดดันตัวเองมากเกินไป สิ่งที่เป็นตัวจุดชนวนความเศร้าซึม

คือ ความรู้สึกแย่กับตัวเอง เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้ขึ้น ต้องระวังมิให้ดำดิ่งลงไป หรือคิดวนอยู่กับมันเนิ่นนานนัก

อาจใช้วิธีการพาตัวเองออกจากความคิดวนเวียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าเรื่องงาน ความรัก ครอบครัว หรือสังคม

ให้เวลาตัวเองได้ผ่อนคลายและวางเรื่องนั้นลงบ้าง อนุญาตให้ตัวเองได้นั่งเฉยๆ เดินเล่นสบายๆ ฟังเพลง อ่านหนังสือ

พบปะมิตรสหาย หรือทำกิจกรรมที่อยากทำ กินขนมที่อยากกิน แล้วค่อยกลับไปลุยกับสิ่งจริงจังนั้นต่อ เพราะถ้าลุยตลอดเวลา

เราอาจพังก่อนเวลาอันควร ความทุ่มเทอย่างหนักมีข้อเสียของมันเช่นกัน เมื่อใส่แรงลงไปเยอะ เรามักคาดหวังเยอะตามไปด้วย

ถ้าผลยังไม่เป็นดังหวัง บ่อยครั้งกลับเพิ่มแรงกดดันกลับมาที่ตัวเอง ทำให้รู้สึกแย่ที่ยังไปไม่ถึงไหนเสียที

นิสัย 5 สิ่งต่อไปนี้ที่ต้องตรวจสอบตัวเองว่า “เยอะไปไหม”

1 : อาวรณ์กับอดีต

การหวนกลับไปคิดว่า “ตอนนั้นฉันน่าจะทำแบบนั้นแบบนี้” ทำให้เราวนเวียนอยู่กับสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ ชีวิตเป็นส่วนผสม

ของสิ่งที่ตัดสินใจได้ถูกกับตัดสินใจผิด ไม่มีใครตัดสินใจถูกตลอดเวลา เพราะผิดจึงไม่ทำอีก ทุกคนมีเรื่อง

ที่อยากแก้ไขแต่แก้ไม่ได้ สิ่งสำคัญคือเราไม่ได้ทำผิดทั้งหมด ลองถามตัวเองดูว่า “อะไรบ้างในอดีตที่เราทำได้ดีแล้ว”

จะพบว่ามีสิ่งที่ทำและเลือกได้ดีจำนวนไม่น้อย รู้สึกดีกับอดีตมากขึ้น เก็บบทเรียน (โดยไม่ต้องโทษตัวเอง)

เพื่อทำอนาคตให้ดี ยังมีพรุ่งนี้รออยู่ ทุกคนล้วนมีโอกาสตกลงไปในพายุแห่งความรู้สึกแย่กับตัวเองด้วยกันทั้งนั้น

ช่วงเวลาที่อยู่ในพายุย่อมไม่ง่ายที่จะเดินออกมา กระนั้น การมองเห็นองค์ประกอบที่ก่อพายุอารมณ์ขึ้น

อาจทำให้เราพอจะจัดการกับมันได้บ้าง โดยเฉพาะคนที่พายุยังเพิ่งเริ่มก่อตัว เราอาจผิดพลาด อาจยังทำได้ไม่ดี

แต่นั่นเป็นธรรมดาของมนุษย์ ต้องลองตรวจสอบเป้าหมายที่ตั้งไว้กับตัวเองว่า ไม่คาดคั้นกับตัวเองเกินไปใช่ไหม

ความรู้สึกผิดแต่ละครั้งหนักหน่วงเกินไปหรือเปล่า

2 : ทำเพื่อคนอื่นมากเกินไป

เวลารู้สึกแย่กับตัวเอง เรามักพยายามทำเต็มที่ที่สุด เพื่อพิสูจน์ตัวเองว่าเราไม่ได้แย่ จึงเป็นช่วงเวลาที่ปฏิเสธไม่เป็น

ตอบรับและเอาใจคนอื่นไปทั่ว เพื่อให้เขารู้สึกดีกับเรา ซึ่งการเอาอกเอาใจทุกคนนั้น เสี่ยงต่อความเหนื่อยล้าอ่อนแอในใจตัวเอง

ยิ่งถ้ามีใครเอาเปรียบจากความใจดีของเรา ก็ยิ่งทำให้เจ็บปวดมากขึ้นไปอีก ลองสังเกตตัวเองว่า

กำลังพยายามเอาใจคนอื่นจนมากเกิน เพื่อพิสูจน์ตัวเองหรือเปล่า อาจต้องพูดคำว่า “ไม่” บ้าง แล้วเราจะค่อยๆ เข้าใจว่า

เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานที่เข้าใจเรา ไม่ได้คาดหวังว่า เราจะต้องพยักหน้าตลอดเวลาขนาดนั้น

3 : รู้สึกผิด

ทุกคนทำผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น แต่คนที่อยู่ในภาวะเศร้าซึมจะเคลื่อนออกจากความรู้สึกผิดได้ยากกว่า หากเริ่มมองเห็น

วังวนของการโทษตัวเองซ้ำๆ รู้สึกผิดวนเวียน ต้องระวัง.. เพราะจะนำไปสู่การโทษตัวเองว่า “สมควรแล้วที่เป็นแบบนี้”

ความรู้สึกเช่นนี้คือ “ความรู้สึกผิดที่ไม่มีประโยชน์” ลองแยกความผิดที่แก้ไขไม่ได้เพราะผ่านไปแล้วออกไปให้ชัดๆ

ให้อภัยตัวเอง แล้วลงมือทำสิ่งใหม่ การให้อภัยตัวเองเป็นเรื่องที่ต้องฝึกให้ชำนาญ เพราะชีวิตนี้

เรายังทำผิดพลาดอีกหลายหน และตัวเราเองก็คู่ควรต่อการให้อภัยไม่น้อยไปกว่า คนที่เราอภัยและใจดีต่อเขา

บางคนให้อภัยทุกคนในโลก ยกเว้นตัวเอง ต้องฝึกใจดีกับตัวเองมากขึ้น

4 : ระแวงว่าคนอื่นจะมองว่าเราแย่

เวลารู้สึกแย่กับตัวเอง บ่อยครั้งเราเผลอคิดว่า คนอื่นมองเราแย่เหมือนที่เรารู้สึก เช่น คิดว่าเราอ่อนแอ เราห่วย ต่างๆ นานา

ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้ความสัมพันธ์ย่ำแย่ลง เพราะเราจะรู้สึกไม่ปลอดภัย สิ่งสำคัญคือ ต้องมองเห็นตัวเองว่า

กำลังตัดสินคนอื่นด้วยความรู้สึกของตัวเองอยู่หรือเปล่า อาจแก้ไขได้ ด้วยการหาเพื่อนที่ไว้ใจแล้วบอกเล่าความรู้สึกให้ฟัง

รวมถึงถามหาข้อดีหรือจุดแข็งของเรา เพื่อจะได้รู้ว่า เพื่อนไม่ได้รู้สึกกับเราในเชิงลบอย่างที่เราคิด ตรงกันข้าม…

เพื่อนยังมองเห็นคุณสมบัติที่ดีหลายอย่างในตัวเราด้วยซ้ำ นอกจากกระชับสัมพันธ์แล้วยังได้เพิ่มพลังให้ตัวเองด้วย

5 : ติดความสมบูรณ์แบบ

ความคาดหวังที่สูงและเป็นอุดมคติ ไม่ว่าจะเรื่องความรัก การงาน ความสำเร็จ หรือสังคมก็แล้วแต่

อาจก่อความเครียดขึ้นในใจเพราะฝันสมบูรณ์แบบนั้น มักต้องเผชิญกับความผิดหวัง

หากตั้งเป้าสวยงามไว้ ก็อาจต้องเหลือพื้นที่ให้ตัวเองด้วยว่า ผู้คน ความสัมพันธ์ การงาน ความฝัน

อาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด 100% สิ่งที่ช่วยได้คือ การมีทัศนะที่ดีต่อความล้มเหลว มองเห็นบทเรียน

ที่ได้รับจากเวลาผิดหวัง และมองเห็นภาพกว้างว่า ชีวิตยังมีอย่างอื่นอีก นอกจากความฝันอันสมบูรณ์แบบของเรา

 

Load More Related Articles
Load More By babyghost34
Load More In ข้อคิดเสริมกำลังใจ
Comments are closed.

Check Also

แบบนี้ไม่ได้เรียกว่าความรักหรอก..ถ้ามีรักแล้วไม่ใส่ใจ..อย่ าเสียเวลา

มีรักแล้วไม่ใส่ใจ มันไม่ได้เรียกว่าความรักหรอก รัก คือส … …