5 แนวทางหลักการคิดเรื่องเงิน เพื่อนสร้างความมั่นคงในยุคของการเปลี่ยนแปลง

ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเกิดการทดแทนได้ตลอดเวลา

แม้แต่มนุษย์เงินเดือนซึ่งต่อจากนี้อาจจะไม่สามารถมั่นใจได้อีกแล้วว่าบริษัท

จะจ้างจนถึงวันเกษียณอายุ สิ่งที่เราควรทำคือวางแผนทางการเงินให้ดี

ทำให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย มีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน มีเงินเพียงพอ

สำหรับเป้าหมายต่างๆ ของเรา และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นกับเรา

1. สำรวจตัวเองก่อนวางแผนทางการเงิน

ก่อนที่เราจะวางแผนทางการเงินเพื่อฐานะที่มั่นคง เราจะต้องสำรวจตนเองก่อน

ว่าเรามีสินทรัพย์เท่าไร มีหนี้สินเท่าไร มีกระแสเงินสดต่อเดือนเท่าไร

สินทรัพย์ที่เรามีนั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มตามกาลเวลาหรือเป็นสินทรัพย์

ที่มีมูลค่าตามกาลเวลา หนี้สินที่เรามีมากกว่าสินทรัพย์หรือไม่ มากเกินกว่ากำลังจ่าย

ของเราหรือเปล่า เมื่อเราสำรวจตัวเองเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ควรจะได้

ก็คือ “เงินเหลือเก็บ” ในแต่ละเดือน

2. คำนวณกระแสเงินสดของเรา

เมื่อเราสำรวจตัวเองเพื่อวางแผนทางการเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คำแนะนำต่อมา

ก็คือ ลองคำนวณกระแสเงินสดในแต่ละเดือนของเรา กระแสเงินสดที่นำมาคำนวณ

ต้องเป็นตัวเลขที่เกิดจากการนำรายได้หักออกด้วยรายจ่ายทั้งหมด

เป็นกระแสเงินสดเหลือเก็บ ยกตัวอย่างเช่น เรามีเงินเหลือเก็บเดือนละ 5000 บาท

เท่ากับว่าปีหนึ่งๆ เราสามารถเก็บเงินได้อย่างน้อย 6 หมื่นบาทต่อปี

จากนั้นเข้าสู่คำแนะนำที่ 3 กันเลยครับ

3.จดบันทึกค่าใช้จ่ายที่จำเป็น

เมื่อเรารู้ตนเองแล้วว่าเรามีสินทรัพย์เท่าไร มีหนี้สินเท่าไร มีเงินเหลือเก็บอยู่เท่าไร

จากนั้นเราต้องจดบันทึกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในปัจจุบัน และอนาคตของเราออกมา

เช่น ค่าโปะบ้าน ค่าประกันชีวิต ค่าเทอมลูกในอนาคต ค่าเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น

การจดบันทึกค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบัน และอนาคต จะทำให้เราต้องวางแผน

ล่วงหน้าเก็บเงินสะสม เวลาที่ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเกิดขึ้นจริง จะได้ไม่เกิดอาการ “ช็อตเงิน”

หรือหมุนเงินไม่ทันนั่นเองครับ จากนั้นให้เข้าสู่คำแนะนำที่ 4

4. การจำลองแผนการลงทุน

เมื่อเราวิเคราะห์ตนเอง คำนวณกระแสเงินสดที่ควรจะเป็น และวางแผนครอบคลุม

ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นออกมาแล้วเราจะมองเห็น “เงินเหลือเก็บ” ได้อย่างชัดเจน

หน้าที่ของเราต่อจากนี้ก็คือการวางแผนลงทุน ทำเงินเหลือเก็บให้งอกเงยครับ

โดยแผนการลงทุนมีดังต่อไปนี้

-นำเงินไปฝากประจำ ผลตอบแทนที่คาดหวัง 2-3%

-นำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ผลตอบแทนที่คาดหวัง 3-5%

-นำเงินไปซื้อกองทุนรวม ผลตอบแทนที่คาดหวัง 5-10%

-นำเงินไปลงทุนในหุ้น ผลตอบแทนที่คาดหวัง 10-15%

เมื่อเราลองจำลองผลตอบแทนจากการลงทุนออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ขอให้เข้าสู่คำแนะนำสุดท้ายกันเลยครับ

5.จัดพอร์ตการลงทุนเพื่ออนาคต

จากการจำลองผลตอบแทนจากการลงทุนเราจะพบว่า เราสามารถลงทุน

และรับผลตอบแทนได้ตั้งแต่ 2-15% ต่อปีขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้

หน้าที่ของเราก็คือ การแบ่งเงินเหลือเก็บมาลงทุน โดยการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่ออนาคตนั้น

จะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ครับ หากเราอายุยังน้อย และรับความเสี่ยงได้สูง

ก็ควรนำเงินไปลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่มากหน่อย แต่ถ้าเรายอมรับความเสี่ยงได้ต่ำ

ก็ควรนำเงินไปฝากประจำ หรือซื้อพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ความเสี่ยงที่ต่ำกว่าครับ

วิธีการที่แน่นอนก็คือ เราต้องมี “วินัย” ในการออม การลงทุนระยะยาว หากเราสามารถลงทุน

และทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ในช่วง 5-10% ต่อปีเราจะสามารถสร้างพอร์ตการลงทุน

ให้เติบโตได้ 1 เท่าตัว ภายในระยะเวลา 5-7 ปีครับ

Load More Related Articles
Load More By babyghost34
Load More In ข้อคิดเสริมกำลังใจ
Comments are closed.

Check Also

แบบนี้ไม่ได้เรียกว่าความรักหรอก..ถ้ามีรักแล้วไม่ใส่ใจ..อย่ าเสียเวลา

มีรักแล้วไม่ใส่ใจ มันไม่ได้เรียกว่าความรักหรอก รัก คือส … …