6 วิธีปรับตัวใช้รับมือการเงินในยุคของการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความมั่นคง

ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเกิดการทดแทนได้ตลอดเวลา

แม้แต่มนุษย์เงินเดือนซึ่งต่อจากนี้อาจจะไม่สามารถมั่นใจได้อีกแล้ว

ว่าบริษัทจะจ้างจนถึงวันเกษียณอายุ สิ่งที่เราควรทำคือวางแผนทางการเงินให้ดี

ทำให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย มีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

มีเงินเพียงพอสำหรับเป้าหมายต่างๆ ของเรา และพร้อม

รับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นกับเรา

1. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และบริหารเงินให้เป็นบวก
การบันทึกว่าแต่ละเดือนเรามีรายได้เข้ามาเท่าไร และจ่ายออกไปเท่าไร

จะทำให้เรารู้สถานะทางการเงินของตัวเอง ความมั่นคงทางการเงิน

เกิดจากการที่เรามีรายได้มากกว่ารายจ่าย หากรายจ่ายของเราสูง

ให้พิจารณาตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก

2. สำรองเงินเผื่อยามฉุกเฉิน
เราต้องมีเงินเผื่อไว้สำหรับยามฉุกเฉิน เช่น ตกงาน เข้าโรงพยาบาล ซ่อมรถ

หรือเหตุอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้เงินกะทันหัน โดยปกติแล้ว ควรมีเงินสำรองไว้

เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3-6 เดือน หากเราเป็นมนุษย์เงินเดือน

ที่มีรายได้เสริมด้วยอาจจะเตรียมเงินเผื่อไว้อย่างน้อย 3 เดือน หากมีรายได้

เพียงทางเดียว ไม่มีรายได้เสริม ควรเก็บเงินไว้ให้พอค่าใช้จ่าย 6 เดือน

แต่หากเรามีรายได้ไม่แน่นอน หรืออยู่ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี หางานลำบาก

อาจจะเก็บเงินสำรองมากกว่านี้ เงินสำรองเผื่อฉุกเฉินนี้ควรเก็บไว้ในบัญชี

หรือกองทุนที่ถอนออกมาใช้ได้สะดวก เน้นรักษาเงินต้นมากกว่าทำผลตอบแทนที่สูง

3. วางแผนทางการเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะยาว
เป้าหมายทางการเงินที่ทุกคนต้องมีคือเป้าหมายการเกษียณ และบริหารเงิน

เพื่อให้มีเงินใช้เพียงพอในวัยเกษียณจวบจนสิ้นลมหายใจ นอกจากนี้

ยังมีเป้าหมายอื่นๆ ที่ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น เงินเพื่อการศึกษาบุตร

หรือเงินเพื่อซื้อบ้าน เราควรให้ความสำคัญกับเป้าหมายระยะยาวเหล่านี้

โดยเมื่อมีรายได้หรือเงินเดือนเข้ามา ให้หักเงินไว้ส่วนหนึ่ง

สำหรับเป้าหมายเหล่านี้ ก่อนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่น

4. บริหารความเสี่ยงด้วยการทำประกัน
อะไรก็เกิดขึ้นได้ แม้เราจะมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไว้แล้ว แต่บางทีอาจจะไม่พอ

เราจึงควรทำประกันไว้บ้าง เช่น ประกันชีวิต สุขภาพ บ้าน และรถ

โดยให้เลือกทำอย่างเหมาะสม เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้

5. ติดตามและปรับแผนตามสถานการณ์ส่วนตัวที่เปลี่ยนไป
เมื่อเรามีแผนทางการเงินแล้ว อย่าลืมที่จะติดตามและปรับแผนเมื่อเวลาผ่านไป

เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะสามารถบรรลุเป้าหมายของเราได้ เช่น หากเราทำตามแผน

ไม่ได้เพราะใช้จ่ายมากเกินไป ต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงอีก

หรือหากสถานการณ์ของเราเปลี่ยน เช่น มีลูกเพิ่มขึ้นมาอีกคน

เราต้องปรับแผนทางการเงินของเราใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น

6. พัฒนาตัวเองและหารายได้เสริม
สำหรับผู้ที่มีรายได้ทางเดียว อาจจะพิจารณาหารายได้เสริมในเวลาว่างหรือให้เงิน

ช่วยทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดรายได้ นอกจากนี้ยังควรพัฒนาตัวเอง

ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนไป เพื่อโอกาสและความก้าวหน้าในชีวิตการงาน

รวมถึงเพื่อให้มั่นใจได้ว่าความรู้ความสามารถที่เรามีจะยังใช้ได้อยู่ในอนาคต

B r ian T r acy นักพูดและนักเขียนชื่อดังแนะนำไว้ว่า ความรู้ของเรา

ควรจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวทุกๆ 3-5 ปีไม่เช่นนั้นแล้ว เราอาจจะตามคนอื่นไม่ทัน

 

ความมั่นคงทางการเงิน..ไม่ยากเกินไป จากวิธีที่เขียนมาทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมานี้

หากเราไม่แน่ใจข้อไหนสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ ได้ ที่สำคัญคือ เราต้องใส่ใจ

เพราะความมั่นคงทางการเงินนั้นเกี่ยวพันกับการกินอิ่มนอนหลับของเราเอง

Load More Related Articles
Load More By babyghost34
Load More In ข้อคิดเสริมกำลังใจ
Comments are closed.

Check Also

แบบนี้ไม่ได้เรียกว่าความรักหรอก..ถ้ามีรักแล้วไม่ใส่ใจ..อย่ าเสียเวลา

มีรักแล้วไม่ใส่ใจ มันไม่ได้เรียกว่าความรักหรอก รัก คือส … …