1 : เขียนความคิดของตัวเอง
อีกวิธีนึง ที่จะช่วยหยุดความคิดฟุ้งซ่านของคุณ ก็คือการระบายให้กับคนที่มีมุมมองวิธีคิดแตกต่างไปจากคุณได้ฟังหรือจะใช้วิธีเขียนระบายความคิดของตัวลงไปในกระดาษแทนก็ได้
เพราะการเขียนทำให้เราคิดอย่างเป็นระบบขึ้นมากถ้าคุณเก็บความคิดเหล่านั้นไว้แต่ในหัวนอกจากมันจะไปสุมกันจนเป็นภูเขาเลากามันยังทำให้คุณวนกลับมาคิดเรื่องเดิมซ้ำอยู่อย่างนั้นไม่จบสิ้น
2 : คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้
เป็นเรื่องปกติที่จะกังวลว่าคุณเลือกงานผิดแต่งงานกับคนที่ไม่ใช่สำหรับตัวเอง หรือแม้แต่ขับรถกลับบ้านผิดทางแต่ความผิดพลาดก็ไม่ได้นำไปสู่หายนะเสมอไป
แถมยังเป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้และเติบโตขึ้นด้วย “การตระหนักได้ว่าตัวเองทำอะไรพลาดแล้วปรับมุมมองการมองโลกใหม่ได้จะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
และนวัตกรรมใหม่ๆ ”“การคิดมากมักเป็นเพราะคุณคิดว่ามันเป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของคุณเปลี่ยนแปลงไม่ได้และต้องถูกต้องเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้ว
คุณไม่ต้องกังวลกับความผิดพลาดเลยและให้เข้าใจไว้ว่าความคิดเห็นหรือความรู้ของคุณนั้นมันเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามกาลเวลาแล้วคุณจะรู้สึกสงบและเป็นอิสระจากภายในอย่างแท้จริง
3 : เบี่ยงเบนความคิดของตัวเอง
ฟังดูง่ายๆ แต่ที่จริงการจดจ่อกับสองสิ่งไปพร้อมกันนี่มันยากนะลองออกกำลังกายหรือเล่นเกมดูเมื่อรู้ตัวว่าตนเองกำลังคิดมากเพื่อสร้างสมดุลระหว่างอารมณ์และร่างกาย
วิธีแก้การคิดมากคือ ให้หากิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจของคุณ ซึ่งควรเป็น“กิจกรรมที่ใช้ทั้งร่างกาย ความคิดและการร่วมเล่นกับผู้อื่น เช่น เทนนิสหรือการเดินเที่ยวกับเพื่อนสักคน”
4 : เคารพความคิดเห็นของตัวเอง
เหตุที่คุณยังคงคิดมากจนไม่ยอมตัดสินใจส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคุณไม่เชื่อว่าตัวเองจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ถูกต้องจงเรียนรู้
ที่จะเคารพความคิดเห็นของตัวเองยิ่งคิดมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งลังเลในความคิดของตัวเองมากเท่านั้น
5 : โฟกัสที่สิ่งที่ทำได้ในปัจจุบัน
อีกหนึ่งวิธีแก้นิสัยคิดมากก็คือ เลิกคิดแล้วลงมือทำอย่าไปโฟกัสในสิ่งที่คุณต้องทำ สิ่งที่ยังไม่ได้ทำหรือแม้แต่สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว
แต่ให้พุ่งความสนใจไปในที่สิ่งที่สามารถทำได้ในปัจจุบันก็พอ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กแค่ไหนก็ตาม แล้วก็ลงมือทำมันซะ
เราควรจะเปลี่ยนความกังวลใจเกี่ยวกับอนาคตให้กลายเป็นการกระทำที่จับต้องได้ “ทุกครั้งที่เริ่มกังวลในเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ให้ลุกจากที่ที่นั่งอยู่
เดินไปในที่ ที่เปลี่ยนยากาศ”
6 : สังเกตความคิดของตัวเอง
ส่วนสำคัญที่สุดของการทำสมาธิคือการปล่อยให้ความคิดของคุณลอยผ่านไปแทนที่จะไปยึดติดอยู่กับมันหรือพยายามที่จะหยุดคิดมัน
การฝึกสมาธิแบบเจริญสติ เป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณหยุดหมกมุ่นกับเรื่องในอดีตได้ โดยให้คุณลองสังเกตการณ์ความคิดของตัวเอง
แทนที่จะลงไปหมกมุ่นอยู่กับมันสตีฟ จอบส์ เองก็เคยอธิบายเกี่ยวกับวิธีการเช่นเดียวกันนี้ให้วอลเตอร์ ไอแซ็กซัน ผู้เขียนชีวประวัติของเขาฟัง ดังนี้
“ลองนั่งอยู่เฉยๆ แล้วสังเกตความคิดของตัวเองดูคุณจะรู้เลยว่าความคิดมันไร้ขอบเขตจริงๆ และเวลาที่คุณพยายามทำให้มันนิ่งก็มีแต่จะแย่ลงเท่านั้น
แต่จิตใจของคุณจะสงบลงเองเมื่อเวลาผ่านไปสักพักและเมื่อจิตใจของคุณสงบแล้วมันก็จะมีที่ว่างในการรับฟังสิ่งที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น”
7 : กำหนดช่วงเวลาสำหรับ “การหยุดใช้ความคิด”
การกำหนดโซน “หยุดใช้ความคิด” ช่วยห้ามไม่ให้คุณหมกมุ่นกับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปเช่น การไม่คิดเกี่ยวกับเรื่องยากๆ
หลังเวลาสองทุ่มเพื่อไม่ให้มันมารบกวนเวลานอนหลับ ให้แบ่งเวลาไว้ประมาณ 20 นาทีต่อวัน สำหรับการสะท้อนความคิดของตัวเอง
“ภายในยี่สิบนาทีนี้ ปล่อยให้ตัวเองวิตกกังวลครุ่นคิด ฟุ้งซ่านได้เต็มที่ตามต้องการ แล้วพอหมดเวลาก็ให้เปลี่ยนไปทำสิ่งอื่น
ที่มีประโยชน์กว่าถ้าคุณเริ่มคิดมากนอกช่วงเวลาที่กำหนดไว้เมื่อไหร่ ก็ให้เตือนตัวเองว่าค่อยเอาเก็บไปคิดในช่วงเวลาที่กำหนดดีกว่า”