สังคมแห่งการแก่งแย่งชิงดี มีให้เห็นอยู่มากมายรอบตัวในยุคปัจจุบัน ยุคที่ทุกคน
ต่างเห็นผลประโยชน์ตัวเองมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม หรือ เรียกสั้นๆ ว่า
“เห็นแก่ตัว” มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง เปรียบเทียบไว้ว่า…
เรื่องเล่าปั้มน้ำมันร้าง… มีอยู่ว่า
คนไทยคนแรก… เดินทางมาถึงหมู่บ้านห่างไกล แถวนี้มีถนนตัดผ่าน
รถสัญจรไปมามากมาย แต่ไม่มีปั้มน้ำมันเลย จึงตัดสินใจลงทุนเปิดปั๊มน้ำมัน
ไม่นานนักก็มีลูกค้าเยอะตามคาด
คนที่สอง… เดินทางมาเห็นปั๊มน้ำมันมีลูกค้าเข้าใช้เยอะดี ก็เลยตัดสินใจ
เปิดปั้มที่ฝั่งตรงกันข้ามถนน เพื่อเรียกลูกค้าอีกฝั่ง
คนที่สาม… เดินทางมาถึง เห็นเขาเปิดปั๊มน้ำมัน ท่าทางจะไปได้ดี ก็เปิดบ้าง
แต่ไปเปิดดักหน้าปั้มที่เปิดอยู่ก่อน
คนที่สี่… เดินทางมาถึง เห็นธุรกิจปั้มน้ำมันไปได้ดี ก็เลยตัดสินใจเปิดปั๊มน้ำมัน
แต่ต้องการแย่งลูกค้าเลยเปิดดักหน้าปั้มที่สาม แล้วก็ลดราคาน้ำมันลงอีกด้วย เพื่อตัดราคา
คนที่ห้า… เดินทางมาถึง เห็นเขาเปิดปั๊มน้ำมันกันเยอะแยะก็เอาบ้าง แล้วมีการ
ลดแลกแจกแถมเพื่อดึงดูดลูกค้า
คนที่หก… คนที่เจ็ด… เดินทางมาถึงก็พากันแห่เปิดปั๊มน้ำมัน ผลสุดท้ายลดแลกแจกแถม
แล้วไม่คุ้มทุน ตลาดเสียหายทุกรายเจ๊งกันหมดกลายเป็นปั๊มร้าง หมู่บ้านก็กลับ
คืนสู่ความเงียบเหงาเหมือนเดิม เห็นใครขายอะไรได้ดี ทำอะไรกำไรงาม ก็พากันไปขายแข่
นี่แหละสาเหตุ ขายดีจนเจ๊ง…!!
…แต่…!! มีชายญี่ปุ่นคนแรก… เดินทางมามาถึงหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ
ยังไม่มีปั้มน้ำมันจึงลองเปิดปั๊มน้ำมันในถนนเส้นนี้ ปรากฏว่ามีลูกค้าเยอะแยะ
คนที่สอง… เดินทางมาเห็นมีคนเข้ามาเติมน้ำมันกันอย่ าคับคั่ง คิดว่าน่าจะมีคน
ที่อย ากทานข้าวด้วยแน่ จึงเปิดร้านอาหาร ธุรกิจก็เป็นไปด้วยดี
คนที่สาม… เดินทางมาเห็นปั๊มน้ำมันผู้คนหลากหลาย ร้านอาหารก็มีลูกค้ามากมาย
คิดว่าน่าจะมีคนต้องการพักผ่อนระหว่างเดินทาง จึงเปิดธุรกิจโรงแรม
คนที่สี่… เดินทางมา เห็นผู้คนหลากหลาย มีทั้งเติมน้ำมัน มีทั้งร้านอาหาร มีทั้งที่พัก
จึงคิดว่าน่าจะมีร้านสะดวกซื้อด้วย เผื่อคนเดินทางมีอะไรขาดเหลือ
คนที่ห้า… คนที่หก… เดินทางทางมาอย่ างต่อเนื่อง จากหมู่บ้านเล็กๆ ก็กลาย
เป็นเมื่องที่กำลังเฟื่องฟู ทุกคนต่างก็ร่ำรวย มีงานมีการทำกันถ้วนหน้า
ไม่ได้ว่าสังคมเราไม่ดี หรือต้องการดูถูกกันเอง แต่อย ากลองเปรียบเทียบ
ให้เห็นภาพง่ายๆ ธุรกิจที่ดีไม่ได้อยู่ที่คุณชนะคู่แข่งได้มากเท่าไหร่
แต่อยู่ที่เกิดการพึ่งพาอาศัยกัน ไม่แก่งแย่ง ไม่เอาเปรียบ
ไม่ตัดกำลัง ไม่ตัดราคากัน สุดท้ายอยู่ไม่ได้ทั้งสองฝ่าย
แต่ขึ้นอยู่กับว่า สามารถยืนระยะได้นานเท่าไร เพื่อสร้างประโยชน์
ให้กับส่วนรวมมากที่สุดได้ช่วยเหลือผู้คนให้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น
ได้มากเท่าไหร่ต่างหากด้วยแนวคิดนี้สินค้าท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น
จึงประสบความสำเร็จอันดับต้นๆ ของโลก… หากใครเคยได้ไปเที่ยวจะเห็นได้ว่า
ในแต่ละท้องถิ่นสินค้าไม่มีซ้ำกันเลย มีขายเฉพาะท้องถิ่นตัวเอง
หันมามองที่บ้านเรา ที่ริมถนนสายหลักจะเต็มไปด้วย โรตีสายไหม ปลาเผา ไก่ย่ าง
สินค้าอื่นๆ ที่เห็นว่าขายดี ทุกๆ ร้านจะนำมาขายเหมือนกันหมด เพื่อแย่งลูกค้ากัน
ไม่แปลกที่แรกๆ จะขายดี แต่พอมาขายแข่งกันมากขึ้น มีคนขายมากกว่าคนซื้อ
แย่งลูกค้ากัน ก็ต้องเจ๊งกันไปตามระเบียบ ของเหลือ เอามาขายซ้ำ คุณภาพแย่ลง
ลูกค้าก็ไม่กล้าอุดหนุน สุดท้ายถ้าไปไม่รอดก็ต้องเลิกกิจการ หันไปเป็นลูกจ้างแทน
ขายที่ดิน ขายมรดก บรรพบุรุษ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือย จะเกิดอะไรขึ้น
กับคุณภาพของประชาชน ที่เอาแต่แข่งกันโดยที่ไม่สนใจคู่แข่ง
แข่งขันกันเองแล้วต้องเลิกกิจการไปในที่สุด..มันน่าคิดนะครับ